พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 59/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงฝนตกหนักบางแห่งสำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางตลอดช่วง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 20 – 23 พ.ค. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยง หากพบสัตว์เจ็บป่วยให้
- เกษตรกรที่ปลูกลำไยควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ทางตอนล่างของภาค มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดของโรคควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
- สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อ
ป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 20-23 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกไว้ให้พร้อมเมื่อมีฝนตกสม่ำ เสมอและดินมีความชื้นเพียงพอแล้วจึงเริ่มเพาะปลูก
- เกษตรกรที่ปลูกส้มโอควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนฝีดาษและหนอนเจาะผล เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจส่งผลกระทบต่อไม้ผลที่ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูก โดยรีบระบายน้ำจากแปลงให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
- เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและ
เป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีมีฝนฟ้าคะนองตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน หนอนเจาะผลและโรคราแป้ง เป็นต้น
- ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นจะสูง 2-3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-16 พ.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด200-300 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.
สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก และตอนล่างด้านตะวันตกภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคใต้บริเวณจังหวัดชุมพรและกระบี่ ที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบคือ (-1)-(-30) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่จัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูกไว้แล้วควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอแล้วจึงค่อยลงมือปลูกพืช เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำขณะเจริญเติบโต และควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่ดี ความชื้นสะสมในแปลงปลูกมีมาก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับภาคใต้ทางฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74