พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 24 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 62/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ค. บริเวณประเทศไทยมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง ส่วนบริเวณทะเล อันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลัง อ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีการกระจายของฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน สำหรับในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนกอข้าวและโรคไหม้ข้าว เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 24-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 26-30 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นและหนอนกระทู้ เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มี
- เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น โรคโคนเน่าหัวเน่า และโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำ บริเวณพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น โรคผลเน่า โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโรคใบจุดสาหร่ายเงาะ และอาการเนื้อแก้วในมังคุด เป็นต้น
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำ บริเวณพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
- เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น โรคผลเน่า โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโรคใบจุดสาหร่ายเงาะ และอาการเนื้อแก้วในมังคุด เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-26 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วน ในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-25 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 26-30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 26-30 พ.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น ปลวกและโรครากขาวเป็นต้น
- ในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-23 พฤษภาคม) บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 5-100 มม. โดยบริเวณจังหวัดขอนแก่น นครพนม และสงขลา มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 25-45 มม. โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ มีค่าสมดุลน้ำ 10-150 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74