พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 65/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 1 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเล อันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2- 6 มิ.ย. ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังลดลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาร่วมกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 2- 6 มิ.ย. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีกำลังอ่อนลง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงด้วย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝน ลดน้อยลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนที่ตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้บริเวณภาคเหนือจะมีฝนตกชุกซึ่งจะทำให้ความชื้นในดินและในอากาศเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำรวมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรค เลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู
- สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไป หากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกพืชตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมในพื้นที่เพาะปลูก ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือเป็นต้น อาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดทำและดูแลทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้ติดขัด ตื้นเขิน ป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นเวลานาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสำรวจ เพราะอาจมีสัตว์ มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาหลบฝนในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยง หรือทำให้สัตว์ตื่นและเครียดได้
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งขั้วผล แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
- ส่วนพื้นที่สวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 2 - 6 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะมีฝนในช่วงบ่ายและค่ำ ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตและเจริญเติบโตทางผล แต่ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย
- ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-30 พฤษภาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-600 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-40 มม. โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ 1-100 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนบน มีค่าสมดุลน้ำ (-1) – (-30) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป และควรจัดทำระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74