พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 3 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Tuesday June 4, 2019 14:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 66/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังลดลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาด ของโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคราน้ำค้าง และโรคราแป้ง เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดควรระวังและป้องกันการระบาด ของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคใบไหม้แผลใหญ่และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวสำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น
  • เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช เช่น โรคโคนเน่าหัวเน่าและโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โรคใบจุดสาหร่ายเงาะ หนอนเจาะผล และหนอนเจาะเมล็ดเป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวรวมทั้งจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคโคนลำต้นเน่าหนู และหนอนปลอกเล็ก เป็นต้น
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 5-9 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-2 มิถุนายน) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-40 มม. โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ 1-100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีสมดุลน้ำ 100-150 มม. ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนบน มีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ ควรจัดทำระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก และควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือน และแผงกำบังฝนสาดอย่าให้มีรอยรั่วซึมเพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝนจนหนาวเย็น และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ