พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 68/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 8 มิ.ย. 62 บริเวณภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนลดลง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มิ.ย. 62 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 7 - 8 มิ.ย. 62 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มิ.ย. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนที่ตกหนัก ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มิ.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะฝนที่ตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง
- ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ดังนั้นเกษตรกรควรดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บกวาดส่วนของพืชที่เป็นโรคไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
- สำหรับในช่วงปลายเดือนนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรเก็บกักน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- สำหรับชาวนาที่หว่านข้าวในระยะนี้ ไม่ควรว่านแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้การระบายอากาศในแปลงปลูกไม่ดี ความชื้นสะสมมีมาก เป็นสาเหตุของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งมักระบาดในช่วงที่อากาศ มีความชื้นสูง
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. 62ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 7 - 8 มิ.ย. 62ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 มิ.ย. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และตัดแต่งขั้วผลแล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน
- ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 8 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 7 - 8 มิ.ย. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 มิ.ย. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ส่วนทางฝั่งตะวันออก จะมีฝนในช่วงบ่ายและค่ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย
- อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-6 มิถุนายน) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดอุดรธานี และภาคใต้บริเวณจังหวัด สุราษฏร์ธานี สงขลา และพังงา ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดอุดรธานี และภาคใต้บริเวณจังหวัด สุราษฏร์ธานี สงขลาและพังงา ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.
สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ 1-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคกลางตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-20) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และในช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74