พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday June 10, 2019 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 69/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 12 มิ.ย. 62 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างตั้งจังหวัดกระบี่ลงไป และอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 มิ.ย. 62 บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ส่วนทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นลดลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 10 - 12 มิ.ย. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 มิ.ย. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 10 - 12 มิ.ย. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดาและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก โดยเฉพาะแปลงนาข้าวที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรเสริมคันนาและระบบระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อป้องกันน้ำท่วมต้นกล้าเมื่อเกิดฝนตกหนัก
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม และทำแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับในช่วงปลายเดือนนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรเก็บกักน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. 62 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคใบขาวในอ้อย โรคราน้ำค้างในข้าวโพด และโรคเน่าดำในพืชตระกูลกะหล่ำ เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้อับชื้นเพี่อป้องกันสัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีกและสุกร รวมทั้งดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สำหรับฝนตกต่อเนื่องกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาวะที่มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง โดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน ดังนั้นเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
  • ในช่วงวันที่ 10 – 12 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • เกษตรกรที่ปลูกกาแฟและยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ และโรคเส้นดำในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวัง ป้องกันโรคผลเน่าในทุเรียน เงาะ และลองกองเป็นต้น รวมทั้งการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตลดลงและเสียหาย
  • ในช่วงวันที่ 10 – 12 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 10 - 16 มิถุนายน 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-9 มิถุนายน) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-150 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมาก มีปริมาณฝนสะสม 25-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 20-40 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคกลางและภาคตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำ 10-150 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 1-300 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนบนมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-20) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ