พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday June 24, 2019 15:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 75/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. 62 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะที่มีฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงตลอดช่วง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่าสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักไว้ด้วย
  • เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ควรระวังและป้องการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอน ศัตรูพืชดังกล่าวจะกักกินยอดและใบข้าวโพด โดยหมั่นสารวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัด
  • สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้าเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้าใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่าสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย หรือในระยะที่เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง
  • ในช่วงที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ข้าว หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทาให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้าในระยะนี้ ไม่ควรปล่อยให้น้าฝนที่ตกนอกพื้นที่ไหลลงบ่อ เพราะจะทาให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้าปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่าสุด 25-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากในช่วงต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องกัน ทาให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งแล้วทำแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว
  • ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรตั้งแต่จังวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศา เซลเซียส เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะที่ฝนตกหนักไว้ด้วย
  • เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟโรคเส้นดาในยางพารา เป็นต้น
  • สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 24 - 30 มิถุนายน 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1 - 23 มิ.ย.) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 25-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-50) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-200 มม. สาหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 1-150 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งทาให้เกิดสภาวะน้ำท่วม สาหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะฝนทิ้งช่วง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ