พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 79/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 4 ก.ค. 62 ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. 62 ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3 - 4 ก.ค. 62 พายุโซนร้อน “มูน” ปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต่อไป และจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำต่อไป ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. 62มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงสำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 62 ขอให้เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 3-4 ก.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร เมื่อมีฝนตกหนัก
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทันดังนั้นเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
- ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค และกระบือ เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6– 9 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
- ระยะนี้จะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวัน ซึ่งสภาพอากาศ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6– 9 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกในที่ลุ่ม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อไม่ให้รากพืชขาดอากาศทำให้ต้นพืชตายได้
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง
- ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 6– 9 ก.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ สูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วง วันที่ 6– 9 ก.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนลดลงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะลำต้น หนอนกินใบในทุเรียนและมังคุด เป็นต้น
- สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงที่มีฝนน้อย
- ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ระหว่างวันที่ 26มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2562 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครพนม ปราจีนบุรี และตราดสำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ลพบุรี กาญจนบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74