พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 10 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 82/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อย สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกร ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคราน้ำค้างและหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนกระทู้กล้าและหนอนม้วนใบ เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกอ้อยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น จักจั่นและหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคราใบติดและหนอนเจาะลำต้น เป็นต้น
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
- เกษตรกรที่ปลูกมังคุดควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นและเพลี้ยแป้ง เป็นต้น
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในช่วงวันที่ 1-9 กรกฎาคม) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกตอนบนกับตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 25-50 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-200 มม. โดยภาคตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-150 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 25-100 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 1-150 มม. โดยภาคตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสูงสุด คือ 100-150 มม. ส่วนภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ (-10) - (-30) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-30) มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ 1-20 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74