พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 12 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค.62 ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค.62 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
- ในช่วงที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในข้าวและข้าวโพด หนอนกอข้าวในข้าว และหนอนผีเสื้อซอนใบในมะเขือเทศ เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ พืชสวนและพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้
- สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยแป้ง และไรแดง ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรมเสียหายได้
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- แม้ในระยะนี้จะยังคงมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันตันพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรสำรวจพื้นที่รอบโรงเรือน และทำการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้หักโค่นมาโดนหลังคาโรงเรือน หรือสายไฟ เมื่อมีฝนฟ้าคะนอง
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 12-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายได้
- สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยแป้ง และไรแดง ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นทรุดโทรมเสียหายได้
- ในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 12-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 12-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้ยังคงมีฝนตกบางพื้นที่ แต่ปริมาณและการกระจายยังมีไม่มาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
- เกษตรกรที่ปลูกทุเรียน ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนเจาะผล ซึ่งจะทำให้ผลเป็นแผล ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล จะทำให้ผลเน่าเสียได้
- ในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในชวงวันที่ 1-11 ก.ค.) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนบนกับตอนล่างของภาคมีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผานมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
ศักยการคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-30) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกตอนบนและตอนล่าง และภาคกลางด้านตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำ (-30)-(-40) มม. ส่วนบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกด้านตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ 1-70 มม.
คำแนะนำ ในชวง 7 วันที่ผานมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในชวง 7 วันขางหนา ประเทศไทยจะมีฝนฟาคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายมีไม่มาก เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝนน้อย โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกตอนบนและตอนล่าง และภาคกลางด้านตะวันออกตอนบน เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่ และพืชผักเป็นต้น เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ต้นชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืช เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของโรคและศัตรูพืช
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74