พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday July 24, 2019 13:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 88/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของประเทศ ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการกระจายของฝนเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

คำเตือน ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อาจไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะกิ่งและมวนลำไย เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งและตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย
  • เกษตรกรที่ปลูกพริกควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น ไรขาวพริกและแมลงวันผลไม้ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 25-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ นอกเขตชลประทานควรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะฝัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 25-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าและหนอนเจาะลำต้น เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง แต่ปริมาณ และการกระจายยังมีไม่มาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย
  • เกษตรกรที่ปลูกเงาะควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและเพลี้ยแป้ง เป็นต้น
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 24-30 กรกฎาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในช่วงวันที่ 1-23 ก.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 300 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-800 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-400 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-40 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกบริเวณตอนบนและตอนล่างของภาคที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสูงสุด คือ 100-400 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นบวกโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีค่าสมดุลน้ำสูงสุด คือ 100-400 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ผลไม้ และพืชผักไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ