พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 5 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday August 5, 2019 14:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 93/62

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 93/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค.62 ประเทศไทยยังมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และด้านตะวันตกของภาคกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ส.ค.62 ภาคใต้และภาคตะวันออก จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค.62 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ส.ค.62 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยคงมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนยังคงมีกำลังแรง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 6-8 ส.ค.62 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะเกษตรกรที่อยู่บริเวณเชิงเขาหรือที่ราบลุ่มเชิงเขา ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาดได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค.62 จะมีฝนตกหนักบางแห่งด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังมีน้อย เกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง ควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • สำหรับนาข้าวที่อยู่ในระยะกล้า เกษตรกรควรระวังการเข้าทำลายของหนอนกระทู้กล้า ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหายได้ โดยหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ และกำจัดวัชพืขตามคันนาหรือบริเวณใกล้เคียง เพื่อทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของหนอนกระทู้ข้าวกล้า

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินบริเวณข้างเคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง พืนที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรจัดทำระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกและผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียอยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 5 - 11 สิงหาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-4 สิงหาคม) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-200 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคกลางด้านตะวันออกและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 1-300 มม. โดยในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำ 100-300 มม. ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกและภาคกลางตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ (-10)-(-30) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ (-30)-(-40) มม. ส่วนภาคใต้ตอนบนมีค่าสมดุลน้ำ 10-100 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของประเทศ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ