พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 100/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 ประเทศไทยจะมีฝนต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. 62 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนลดลง สำหรับทะเลอันดามันบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 ร่องมรสุมพาดจะผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 – 23 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 21 – 23 ส.ค. 62 อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังสภาวะน้ำน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากตลอดจนน้ำล้นตลิ่ง
- เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 27 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกันน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม ใช้งาน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง เมื่อมีฝนตกหนักและเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งจัดเตรียมระบบส่องสว่างยามค่ำคืนเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 27 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิด จากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคหน้ากรีดยาง และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-20 สิงหาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนบนและตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนกลาง และฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยบริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ 1-150 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกด้านตะวันตก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนและตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-40) มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่มีฝนตกติดต่อกัน จะทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น สำหรับเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74