พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday August 28, 2019 15:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 103/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. - 1 ก.ย. ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณ/ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "โพดุล" (PODUL) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่า ในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. จะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. - 1 ก.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. - 1 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 1 ก.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนเกือบทั่วไป โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 30 ส.ค.-1 ก.ย. เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ลาดเชิงเขาหรือที่ราบลุ่ม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยสัตว์ให้อยู่ที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้ สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนเกือบทั่วไป โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งเกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว
  • เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบริเวณใกล้เคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราใบติดในทุเรียน เป็นต้น
  • สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบริเวณใกล้เคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
  • อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. - 3 ก.ย. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-27 สิงหาคม) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม ต่ำกว่า 400 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 400-800 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม ต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนกลาง ที่มีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม ต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำ 100-300 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้เพื่ออพยพสัตว์เลี้ยงด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ