พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 2 - 8 กันยายน พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 105/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากแลน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว มีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- พื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพราะหากน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
- ในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า และโรคท้องร่วง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า และโรคท้องร่วง เป็นต้น
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบริเวณใกล้เคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ระยะนี้มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราใบติดในทุเรียน เป็นต้น
- สำหรับพื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพราะหากน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ฝั่งตะวันออกช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์
- ในระยะนี้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป์องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ
- อนึ่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (ในช่วงวันที่ 1 กันยายน) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-150 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา
บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-600 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-300 มม.โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคเหนือตอนบน และ ภาคตะวันออกตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
สมดุลน้ำ ประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 20-600 มม. โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าสมดุลน้ำ 100-600 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 10-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่าสมดุลน้ำ 100-300 มม.
คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74