พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 6 - 12 กันยายน พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 107/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ วันที่ 6-12 ก.ย. ประเทศไทยยังคงมีฝนต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในวันที่ 6 ก.ย. ขอให้เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ระยะนี้ปริมาณฝนลดลงบริเวณที่มีน้ำท่วมหากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราสนิมในกล้วยไม้และกาแฟ เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในวันที่ 6 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ระยะนี้ยังคงมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคท้องร่วงเป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องกับมีฝนหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้เกษตรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
ในวันที่ 6 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราใบติดในทุเรียน เป็นต้น สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบริเวณใกล้เคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น
ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 5 กันยายน 2562 พายุโซนร้อน “โพดลุ (PODUL(1912))” บริเวณทะเลจนี ใตต้ อนบนไดเคลื่อน ขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดองฮอย ประเทศเวียดนามแล้วเคลื่อนผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อเวลา 05.30 น.ของวันที่ 30 ส.ค. จากนั้น ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันขณะเคลื่อนผ่านจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และเลยก่อนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่างในวันต่อมา ประกอบกับในระยะปลายช่วงพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “คาจิกิ(KAJIKI(1914))” แล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงเช้าของวันที่ 3 ก.ย. จากนั้นพายุนี้ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวตอนใต้ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณเมืองสาละวัน ประเทศลาวในช่วงเย็นของวันเดียวกัน จากนั้นกลับลงสู่ทะเลจีนใต้ ในวันเดียวกัน และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 4 ก.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเป็นบริเวณกว้างและมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินถล่มบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 30 ส.ค.จังหวัดแพร่ในวันที่ 30 ส.ค. และ 2 ก.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 30,31 ส.ค. และ 2 ก.ย. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 31 ส.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิษณุโลกและอุตรดิตถ์ในวันที่ 31 ส.ค. และ 2 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแพร่ในวันที่ 30 ส.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 31 ส.ค. และ 2 ก.ย. จังหวัดลำปางในวันที่ 2 ก.ย. และมีรายงานน้ำล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และน่านในวันที่ 2 ก.ย. และจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 3 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญในวันที่ 30 ส.ค. จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 31 ส.ค. และ 2 ก.ย. จังหวัดศรีสะเกษและสกลนครในวันที่ 3 ก.ย. กับมีรายงานน้ำล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 2 ก.ย. อีกทั้งมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 30 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเว้นแต่ในวันที่ 4 ก.ย. มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งถึงหนักมาก เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตราดในวันที่ 31 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชุพรในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 1 ก.ย.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74