พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 23 - 29 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday September 23, 2019 14:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 23 - 29 กันยายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 114/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-29 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีฝนลดลง และจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. บริเวณภาคภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ รวมทั้งควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิลดลง 3-5 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะ ที่ผ่านมาหากน้ำลดระดับลงแล้ว เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนมากทางตอนบน ของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ รวมทั้งควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรครากเน่า-โคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรค ได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 16-22 กันยายน 2562 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนกลับขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝน โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 16, 17 และ 22 ก.ย. มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 17 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 10 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19, 20 และ 21 ก.ย. มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และร้อยเอ็ด ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 19 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19, 20 และ 21 ก.ย. มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่

มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย สุโขทัย มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และสุราษฎร์ธานี สำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ