พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 115/62
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 25 ก.ย. - 1 ต.ค.บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง โดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง
คำเตือนในช่วงวันที่ 25 ก.ย. - 1 ต.ค. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เช่น หนอนเจาะฝักในมะขาม เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง และมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ในระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว ควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ดีดังเดิม
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ทางตอนบนของภาคมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ เช่น หนอนเจาะดอกมะลิ เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- แม้ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนผลไม้ยังคงต้องระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า โดยพื้นที่ที่อยู่ในที่ลุ่มควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก และดูแลสภาพสวนให้โปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก ประกอบกับในช่วงนี้มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในยางพารา เช่น โรคหน้ากรีดยาง โรคเส้นดำ เป็นต้น
อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ระหว่างวันที่ 18 - 24 กันยายน 2562 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย สุโขทัย มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง และสุราษฎร์ธานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และระนอง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา