พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 118/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 4-7 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศแปรปรวนกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในช่วงนี้จะมีอากาศแปรปรวนกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพนอกจากนี้หากน้ำที่เคยท่วมลดระดับลงแล้ว ควรรีบฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรให้ใช้ได้ดีดังเดิม
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยนอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-4 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2-4 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม 2562 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน ชัยภูมิ นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร สระแก้ว ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา