พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 4 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday October 4, 2019 14:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 119/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 10 ต.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. 62 ขอให้เกษตรกรในบริเวณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศแปรปรวนกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณที่มีฝนหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 5 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 10 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศแปรปรวนกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณที่มีฝนหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับฝนหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 6 - 7 ต.ค. 62 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 6 - 8 ต.ค. 62 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 3 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือและประเทศลาวในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางช่วง ต่อจากนั้นลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนบริเวณอื่นๆมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลงและมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ส่วนภาคกลางยังคงมีฝนเกือบตลอดช่วง สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวทำให้มีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันแรกของช่วง และมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และร้อยเอ็ด ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในระยะต้นช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดยะลาในวันสุดท้ายของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 30 ก.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตรังและยะลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ