พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 9 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 117/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. 62 บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นในระยะแรก กับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นจะมีฝนลดลง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค.62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตวเลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้อากาศแปรปรวน โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตวเลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค.62 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการแพร่ระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดซิกาโตกาสีเหลืองในกล้วยเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ จะได้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคตะวันออก
ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค.62 มีลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ชาวสวนผลไม้ ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มของกิ่งและลำต้น เมื่อมีลมแรง จากฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก จากฝนที่ตกติดต่อกันในระยะนี้ ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในกาแฟ และยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบริเวณข้างเคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ระหว่างวันที่ 2-8 ตุลาคม 2562 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย ชลบุรี นครศรีธรรมราช ปัตตานี และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา นราธิวาส ระนอง ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา