พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 4 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday November 4, 2019 15:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 132/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 62 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนอง บางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ย. 62 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 6 - 10 พ.ย. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ย. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายหนาวเย็น อ่อนแอและอาจเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงฤดูหนาว สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย เกษตรกรควรให้อาหารในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น การเจริญเติบโตดีขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 10 พ.ย. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. 62 ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมหนาวโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือน เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • เนื่องจากระยะที่ผ่านมาเป็นช่วงฤดูฝนความชื้นในดินมีมาก วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ส่วน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 10 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ย. 62 อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง ส่วนระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ ตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำ เพื่อให้น้ำระบายได้สะดวก ป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร ส่วนผู้ที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2562 พายุโซนร้อน “แมตโม (MATMO (1922))” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวีนอน ประเทศเวียดนามในช่วงกลางดึกของวันที่ 30 ต.ค. จากนั้นพายุนี้ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าสู่ประเทศกัมพูชาแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชาในวันที่ 31 ต.ค. ก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกของประเทศไทยในวันต่อมา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนตั้งแต่กลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์ และมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28, 29 ต.ค. และ 3 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป เว้นแต่ในระยะต้นสัปดาห์และวันสุดท้ายของสัปดาห์มีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 31 ต.ค. และ 1 พ.ย. มีฝนร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 31 ต.ค. และ 2 พ.ย.มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 ต.ค. และ 3 พ.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 28 ต.ค. และ 3 พ.ย. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 28,30และ31 ต.ค.มีฝนร้อยละ15-50ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย อุบลราชธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ