พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday November 15, 2019 14:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 137/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 บริเวณพื้นราบของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาว สาหรับภาคใต้มีฝนลดลง ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศหนาวเย็นลงและมีลมแรง สาหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกาลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คาเตือน ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 เกษตรกรในบริเวณประเทศไทยตอนบนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนภาคใต้ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวฝนตกหนัก สาหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่าสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่าสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง อุณหภูมิต่าสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่าสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้มีอากาศเย็นและมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและพืชผัก เช่น โรคราน้าค้างในฟักแม้ว โรคราแป้งในมะขาม เป็นต้น สาหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้า ควรลดปริมาณอาหาร เพราะสัตว์น้าจะกินอาหารได้น้อยลง และเป็นการป้องกันน้าเน่าเสียจากเศษอาหารที่เหลือได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่าสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่าสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่าสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่าสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้มีอากาศเย็นและมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สาหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ควรตากบนพื้นผิวการจราจร เพราะอาจเกิดอันตราย ขณะรถสัญจรผ่านได้ นอกจากนี้ควรให้น้าเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะ เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติมโต

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย.62 มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่าสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 20-21 พ.ย. 62 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่าสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • อากาศเย็นในตอนเข้าและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สาหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ควรตากบนพื้นผิวการจราจร เพราะอาจก่อเกิดอันตราย ขณะรถสัญจรผ่านได้ สาหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่าสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่าสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • อากาศเย็นในตอนเข้าและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจาพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ แม้ว่าในระยะนี้จะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้าเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่าสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย.62 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่าสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนัก โดยดูแลระบบระบายน้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้าท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เป็นต้น สาหรับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือและสุกร เป็นต้น ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยไว้ด้วย อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 8 – 14 พฤศจิกายน 2562 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอ่อนกาลังลง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกาลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะปลายช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทาให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะกลางช่วง และมีรายงานฝนในระยะปลายช่วง สาหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

อนึ่ง พายุโซนร้อน “นากรี (NAKRI(1924))” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกาลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นในช่วงบ่ายของวันที่ 8 พ.ย. ก่อนจะอ่อนกาลังลงเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้าของวันที่ 9 พ.ย. และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองนาตรัง ประเทศเวียดนามเมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 11 พ.ย. แล้วอ่อนกาลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงเช้าของวันเดียวกัน จากนั้นในช่วงบ่ายพายุลูกนี้ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศกัมพูชาและได้อ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ากาลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชาในระยะต่อมา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ