พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 18 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday November 18, 2019 15:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 138/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. พื้นราบบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสกับมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. พื้นราบบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณยอดดอยยังคงมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง และบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 -11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิโรงเรือนสัตว์เลี้ยงอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารให้แก่สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11-17 พฤศจิกายน 2562 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยในระยะกลางสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว แล้วอ่อนกำลังลง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุโซนร้อน “นากรี (NAKRI(1924))” ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 11 พ.ย. ปกคลุมอยู่บริเวณประเทศกัมพูชาในช่วงต้นสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นและปลายสัปดาห์ และมีรายงานฝนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ภาคเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ในวันที่ 13 และ 14 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในวันแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 13 และ 14 พ.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในวันที่ 13 และ 14 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนในระยะกลางสัปดาห์มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 14 และ 15 พ.ย. มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

สัปดาห์นี้มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ภูเก็ต และสตูล โดยบริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 125.9 มม. ที่ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 62

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ