พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 143/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 พื้นราบบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น ถึงหนาวอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส อากาศจะหนาวเย็นลงกับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-11 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ตลอดช่วง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. - 2 ธ.ค. บริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 3 – 5 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง เกษตรที่อยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากระยะนี้มีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือนป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- สำหรับไม้ผลที่เตรียมตัวออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำ โดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 2 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวดั ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 3 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 4 - 5 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเตรียมจัดหาพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้อพยพสัตว์เลี้ยง หากเกิดสภาวะน้ำท่วม ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกและโคนตน้ พืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ อนึ่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง
ระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เกือบตลอดช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่ง หลังของช่วง ประกอบกับ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัด ปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วงกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับภาคใตมี้ฝนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันที่ 27 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่เว้นแต่ในวันที่ 25, 26 และ 28 พ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 24 และ 28 พ.ย.ช่วงที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา ตรัง และสตูล โดยมีปริมาณฝนสูงสุด 96.0 มม. ที่ อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 62
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา