พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2562 – 5 มกราคม พ.ศ.2563
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2562
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 156/62
การคาดหมายลักษณะอากาศ วันที่ 30 ธ.ค. 62 บริเวณภาคเหนือมีอากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว สำหรับภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 62 – 5 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในภาคเหนือ บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-11 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในระยะต้นช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้ง สำหรับในช่วงวันที่ 1 – 5 ม.ค. 63 บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
วันที่ 30 ธ.ค. 62 มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 62 – 5 ม.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 30 – 31 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
- สำหรับอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากระยะนี้มีลมแรงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวไห้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อไม่ให้ลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 30 – 31 ธ.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 5 ม.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค. 62 มีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 5 ม.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้การการติดผลลดลง สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราดำ โดยฉีดพ่นด้วยน้ำก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 5 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม/ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 5 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ระหว่างวันที่ 23–29 ธันวาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ โดยมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไป โดยมีอากาศหนาว ทางตอนบนของภาคเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ จากอิทธิพลของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกที่เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเมียนมาและภาคเหนือตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคเหนือตอนบนมีฝนในช่วงดังกล่าว ส่วนภาคใต้มีฝนทางฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 28 ธ.ค. จังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอนในวันที่ 28 และ 29 ธ.ค. และจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 29 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูนั้นมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีรายงานฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 28 ธ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในวันที่ 23,25 และ 27 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่ง
ตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25 ธ.ค. ภาคใต้
ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่
สัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก โดยมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 45.0 มิลลิเมตร ที่ อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา