พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 13 - 19 มกราคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 6/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13 – 14 ม.ค. 63 ภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝน ฟ้าคะนองบางแห่งทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ม.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย และในช่วงวันที่ 17 - 19 ม.ค. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมี อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็ง บางพื้นที่ สำหรับในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้น
คำเตือน ในวันที่ 13 - 16 ม.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 13 - 16 ม.ค. 63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 17 - 19 ม.ค. 63 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกัน การเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้แตกต่างกันมาก เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวอากาศจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากควันไฟจะลอยขึ้นในชั้นบรรยากาศได้ยากแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียง ทำให้ทัศนวิสัยลดลง เป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 13 – 14 ม.ค. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ม.ค. 63 อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 17 - 19 ม.ค. 63 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากปริมาณฝนที่มีน้อยและน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืช ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 13 – 14 ม.ค. 63 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 15 - 19 ม.ค. 63 อากาศเย็นในกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนตอนกลางวันอุณหภูมิจะสูงขึ้น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และอาคารบ้านเรือน และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตรหากต้องวิ่งในถนนหลวงช่วงกลางคืนหรือช่วงที่มีหมอก ควรดูแลไฟหน้าและไฟท้ายให้รถคันอื่นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 13 - 14 ม.ค. 63 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตรในช่วงวันที่ 15 – 19 ม.ค. 63 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราดำในมะม่วง ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง และการติดผลลดลง เกษตรกรควรฉีดพ่นด้วยน้ำบริเวณทรงพุ่ม ก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้ แต่ไม่ควรฉีดน้ำแรงจนเกินไปเพราะจะทำให้ช่อดอกช้ำการติดผลลดลง เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 – 16 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตรในช่วงวันที่ 17 – 19 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนทางตอนล่างของภาคปริมาณฝนเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง รวมทั้งระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผักไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2563 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ สำหรับฝนในช่วงนี้ ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคุลมภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครมีฝนในระยะดังกล่าว สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาคเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูนั้นมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่บริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ในวันแรกและในระยะปลายสัปดาห์
ช่วงที่ผ่านมา ไม่มีรายงายงานฝนหนักมาก ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา