พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 15 – 21 มกราคม พ.ศ.2563
ออกประกาศวันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ.2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 7/63
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค.63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค.63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่หมอกไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค.63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค.63 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมะสมกับจำนวนสัตว์น้ำ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค.63 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง และมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง และโรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค.63 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นมะม่วง เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรควรหลีกเลี่ยงการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะทำให้บดบังการมองเห็น จนอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังทำให้เกิดมลพิษในอากาศ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค.63 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- จากสภาพอากาศที่มีแดดจัดในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาคลุมบริเวณแปลงปลูกหรือบริเวณโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำ และยังเป็นการรักษาอุณหภูมิดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผลไว้ด้วย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค.63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ม.ค.63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ทางตอนบนของภาค อากาศร้อนและแห้งในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรในไม้ผล ส่วนทางตอนล่างของภาค มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ และไม้ผลไว้ด้วย นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง
ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2562 บริเวณประเทศไทยไม่มีรายงายงานฝนหนักมาก สำหรับบริเวณจังหวัดที่มี ฝนตกหนัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง และนครศรีธรรมราช
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา