พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 22 - 28 มกราคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Wednesday January 22, 2020 14:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 มกราคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-15 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตามบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 4-7 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้มีฝนบางพื้นที่

คำเตือน ในช่วงวันที่ 24 - 28 ม.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. 63 มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 ม.ค. 63 อากาศเย็นถึงหนาว มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง 4-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว ถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 1-12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เพราะอาจทำให้สัตว์ ที่ไม่แข็งแรงตายได้ ส่วนเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิก ใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนกลายเป็นอัคคีภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก หลังจากนั้น อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 4-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากช่วงนี้ น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณหน้าดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 24 ม.ค. 63 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น ในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต ส่วนในระยะปลายช่วงอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 24 ม.ค. 63 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ม.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในบางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง สำหรับชาวสวนมะม่วงควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราดำ โดยฉีดพ่นด้วยน้ำบริเวณทรงพุ่ม ก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับทางตอนบนของภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนทางตอนล่างของภาคฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น อนึ่ง ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 – 21 มกราคม 2563 มีฝนตกหนักในภาคใต้บริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี และนราธิวาส โดยปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 40.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี และที่ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 19 ม.ค.63

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ