พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 19 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
ออกประกาศวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 19-23 ก.พ. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีลมแรงในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 63 ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. 63 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตลอดช่วง
คำเตือน เกษตรกรในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กงดออกจากฝั่งถึงวันที่ 24 ก.พ.63
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- อากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลืองควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนม้วนใบ เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 63 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. 63 อากาศเย็น อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากในตอนกลางวันแดดจัดและมีลมแรง ทำให้การระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย
ภาคกลาง
อากาศเย็นในตอนเช้า ตลอดช่วง กับมีลมแรงในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 63 อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % - อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไมแข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะมีลมแรง สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตพื้นที่ชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
ภาคตะวันออก
อากาศเย็นในตอนเช้า ตลอดช่วง กับมีลมแรงในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 63 อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- อากาศเย็นในตอนเช้า และมีแดดจัดในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาคลุมบริเวณแปลงปลูกหรือบริเวณโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่และไม้ผลไว้ด้วย
ภาคใต้
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-45 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ตลอดช่วง จากสภาวะที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก สำหรับชาวสวนมะพร้าว ควรระวังและป้องกันการระบาดของด้วงแรดมะพร้าว โดยมั่นสำรวจหากพบควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันการระบาดเป็นวงกว้าง อนึ่ง บริเวณอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 24 ก.พ. 63
ระหว่างวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ 2563 ในภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพรและนราธิวาส สำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี พัทลุง และปัตตานี โดยปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 169.8 มม. ที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา