พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday March 27, 2020 15:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว?งวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร?ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 38/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกจะมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรป้องกันอันตรายและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 20-26 มีนาคม หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเกือบตลอดช่วง กับมีรายงานฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนในระยะกลางและปลายช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาคเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลกในวันที่ 20 มี.ค. และบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 21 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมาในวันที่ 20 มี.ค. บริเวณจังหวัดเลย นครพนมในวันที่ 23 มี.ค. บริเวณจังหวัดอุดรธานีและอุบลราชธานีในวันที่ 24 มี.ค. กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่บริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 21 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะกลางช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 20 และ 22 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 23 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ตราด และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ