พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 - 9 เมษายน 2563

ข่าวทั่วไป Friday April 3, 2020 13:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 - 9 เมษายน 2563

การคาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 - 5 และ 8-9 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม. ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3 – 5 เม.ย. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 เม. ย. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 3 - 9 เม.ย 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนในวันที่ 6 - 7 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 เม.ย 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

ส่วนในวันที่ 6 - 7 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย 63 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนในวันที่ 6 - 9 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 4 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ออกประกาศ 3 เมษายน 2563

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ