พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 41/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-5 และ 8-9 เม. ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 เม.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3-5 และ 8-9 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรป้องกันอันตรายและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
อากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3-9 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 45-55 %
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3-5 และ 8-9 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
ภาคกลาง
อากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3-5 และ 8-9 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
ภาคตะวันออก
อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3-5 และ 8-9 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในวันที่ 6-7 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ฝั่งตะวันตก อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออก เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีรายงานฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาคในวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเลย สกลนคร ขอนแก่น และ ศรีสะเกษในวันที่ 1 เม.ย. บริเวณจังหวัดมุกดาหารในวันที่ 2 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 1 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาคตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 1 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 มี.ค. และ 2 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดตราดในวันที่ 2 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางแห่งในวันที่ 28-30 มี.ค. และมีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะปลายช่วง
ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักมากที่จังหวัดยโสธร ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว จันทบุรี ตราด นราธิวาส และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา