พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday April 20, 2020 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 48/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 21 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระในระยะต่อไป สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น

คำเตือน สำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 20 - 21 เม.ย. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรรักษาสุขภาพด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกัน ความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 เม.ย. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อนละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 45-55 %

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอหรือดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง ซึ่งอาจติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศเข้าช่วยหากทำได้ควรใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็จะลดค่าไฟฟ้าลงไปได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 21 และวันที่ 26 เม.ย. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อนละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-37 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม โดยจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีและควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 เม.ย. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อนละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม รวมทั้งดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่จัดเตรียมพื้นที่การเกษตรกรเอาไว้สำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 และ 26 เม.ย. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 25 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อนละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝนปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทำทางระบายน้ำ ออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อให้น้ำระบายได้สะดวกเมื่อมีฝนตกหนักป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นเน่าเสีย กองอยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้ โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 23 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 - 22 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรมุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรขุดลอก คูคลอง ทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งสันดอนปากแม่น้ำ อย่าให้ตื้นเขินติดขัด เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ดอกเสียหาย การติดผลลดลง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 เมษายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดสัปดาห์และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลางส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์และมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนหนักในหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์จากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ซึ่งมีกำลังแรงในระยะดังกล่าว

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัด หลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน และพิษณุโลกในวันที่ 13 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนในวันที่ 18 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 15 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 17 เม.ย. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 13 และ 16 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครพนม อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ยโสธร นครราชสีมา และศรีสะเกษในวันที่ 17 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 13 และ 17 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 13 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 17 เม.ย. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 13, 14 และ 19 เม.ย. มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำปาง อุดรธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ลพบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ