พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday April 24, 2020 15:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 50/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนคลายความร้อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 24-28 เม.ย. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควร ป้องกันอันตรายและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนองเพื่อป้องกันฟ้าผ่า

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน เป็นต้น รวมทั้งผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-28 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกในระยะต้นและกลางช่วง อนึ่งบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดช่วงและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง กับมีฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วงและมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วงกับมีฝนตลอดช่วงจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยในระยะต้นช่วงจากนั้นมีกำลังอ่อนลงแล้วพัดปกคลุมภาคใต้ในระยะกลางและปลายช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 22 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนในวันที่ 18 เม.ย. บริเวณจังหวัดพะเยา ลำปาง และลำพูนในวันที่ 19 เม.ย. บริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 22 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บบริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง และเพชรบูรณ์ในวันที่ 22 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันที่ 20-22 เม.ย. โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 17 และ 22 เม.ย. มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17,19,21 และ 23 เม.ย. ฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 22 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดยโสธร ในวันที่ 17 เม.ย. บริเวณจังหวัดขอนแก่นในวันที่ 17 และ 19 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 17,19 และ 22 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 17 และ 21 เม.ย. บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี และศรีสะเกษในวันที่ 17 และ 22 เม.ย. บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์และหนองบัวลำภูในวันที่ 19 เม.ย. บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานีในวันที่ 22 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บบริเวณจังหวัดมุกดาหาร เลย และหนองคายในวันที่ 22 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันแรกและระยะกลางถึงปลายช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดลพบุรีในวันแรกของช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 21 เม.ย. โดยมีฝนไม่เกินร้อยละ 15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 18 เม.ย. เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและวันที่ 22 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสตูลในวันที่ 22 เม.ย.

ช่วงที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิจิตร เพชรบูรณ์ อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ