พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday May 1, 2020 13:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 53/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1-7 พ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง จึงมีฝนลดลง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้น และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบนส่งผลทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1-7 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 1-3 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 1-3 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนกับฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคผลเน่าทุเรียน เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในวันที่ 1-2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพ น้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะปลายช่วง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะดังกล่าว นอกจากนี้มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือในระยะกลางช่วง กับมีลมตะวันออกกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วงและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง และมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นช่วง สำหรับภาคใต้มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นช่วง กับมีฝนตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นช่วง โดยมีฝนร้อยละ 45-80 ของพื้นที่และมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและเชียงรายในวันแรกของช่วงและวันที่ 28 เม.ย. ตามลำดับ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 24 เม.ย. บริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 24 และ 26 เม.ย. บริเวณจังหวัดลำพูน อุตรดิตถ์ และตากในวันที่ 25 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 25-26 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 24 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งและมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และมหาสารคาม รวมทั้งมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดอุดรธานีในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 25 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 30-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 24 และ 28 เม.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 25 เม.ย. และบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 27 และ 29 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้น มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 27 เม.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก ราชบุรี และฉะเชิงเทรา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝน ตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ ชัยนาท ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง และสตูล

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะปลายช่วง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะดังกล่าว นอกจากนี้มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือในระยะกลางช่วง กับมีลมตะวันออกกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วงและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง และมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นช่วง สำหรับภาคใต้มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นช่วง กับมีฝนตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นช่วง โดยมีฝนร้อยละ 45-80 ของพื้นที่และมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและเชียงรายในวันแรกของช่วงและวันที่ 28 เม.ย. ตามลำดับ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 24 เม.ย. บริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 24 และ 26 เม.ย. บริเวณจังหวัดลำพูน อุตรดิตถ์ และตากในวันที่ 25 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 25-26 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 24 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งและมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และมหาสารคาม รวมทั้งมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดอุดรธานีในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 25 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 30-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 24 และ 28 เม.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 25 เม.ย. และบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 27 และ 29 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้น มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 27 เม.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก ราชบุรี และฉะเชิงเทรา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝน ตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ ชัยนาท ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ