พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 56/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุม ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. อากาศร้อนถึงอากาศร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนกับฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรครากเน่าทุเรียน เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8-12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพ น้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวตลอดช่วงและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง อีกทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตรามีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางและปลายช่วง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตลอดช่วงและมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง
ภาคเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 1-2 และ 6 พ.ค. บริเวณจังหวัดแพร่ในวันที่ 2 พ.ค. บริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 4 และ 6 พ.ค. บริเวณจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 5 พ.ค. และบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 6-7 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 3 มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 5 และ 7 พ.ค. และบริเวณจังหวัดขอนแก่นและหนองคายในวันที่ 7 พ.ค. ภาคกลางมีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันที่ 3 พ.ค. และระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดลพบุรีในวันที่ 3 พ.ค. และบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 6 พ.ค.ภาคตะวันออกมีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาคตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 6 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 3 พ.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 3,5 และ 6 พ.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร เลย หนองคาย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง ตราด พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา