พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday May 22, 2020 15:59 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 62/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-28 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าว

มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะดอกในมะลิ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าในทุเรียน เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่ เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในปาล์มน้ำมันระยะต้นกล้า เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าว และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับฝนในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางช่วง กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นจนถึงเกณฑ์ร้อยละ 55-65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 15 พ.ค. บริเวณจังหวัดน่านและลำปางในวันที่ 17 พ.ค. กับมีรายงานน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 15 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในระยะกลางช่วงมีฝนร้อยละ 55-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ และสกลนครในวันที่ 17 พ.ค.และบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 17 และ 19 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 18 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 16 พ.ค. บริเวณจังหวัดอุทัยธานีวันที่ 17 พ.ค. และบริเวณจังหวัดราชบุรีวันที่ 18 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่กับมีฝนหักบางแห่งส่วนมากบริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค เว้นแต่ในวันที่ 18 พ.ค. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 15, 18 และ 19 พ.ค. มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี มหาสารคาม และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ