พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Wednesday May 27, 2020 14:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ.2563

ออกประกาศวันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 64/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค.63 ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย.63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค.63 บริเวณประเทศไทยจะมีพายุฝนฟ์าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 - 31 พ.ค.63 มีพายุฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย.63 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค. มีฝนฟ์าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับไมผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรเก็บผลที่ร่วงหลน เน่าเสีย ไปกำจัดทิ้ง โดยการเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไมให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค.63 มีพายุฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย.63 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค. จะมีฝนฟ์าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป์องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค.63 มีพายุฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย.63 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค. จะมีฝนฟ์าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย จากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลแปลงเพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก และลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค.63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่า โคนเน่าในไม้ผล สำหรับไมผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแลว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยขุดลอกทางระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สวนทางฝั่งตะวันออกของภาคจะมีฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไรไมผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบริเวณใกล้เคียงไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และอาจตายได้ และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2563 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กำแพงเพชร เลย หนองคาย อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ