พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday May 29, 2020 15:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 65/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29-31 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 29-31 พ.ค. บริเวณทุกภาคของประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30-31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30-31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29-31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29-31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคแอนแทรคโนสในพริก เป็นต้น
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ยเกือบตลอดช่วง โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน

ภาคเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 26 และ 28 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 23,26 และ 28 พ.ค. บริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 26 พ.ค. บริเวณจังหวัดสุโขทัยในวันที่ 27 พ.ค. และบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 28 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22,26 และ 27 พ.ค. มีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนมและขอนแก่นในวันที่ 23 พ.ค. บริเวณจังหวัดสุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และนครราชสีมาในวันที่ 25 พ.ค. และบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 27 พ.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 23 และ 28 พ.ค. บริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 23,24,26 และ 28 พ.ค. และบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 23 และ 26 พ.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 25 พ.ค.มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน สุโขทัย กำแพงเพชร หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ