พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27-28 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 27-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคใบจุดสีดำ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคราสนิม ในถั่วลิสง เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 27-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในส้มโอ เป็นต้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชและดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าและโรคใบไหม้ในทุเรียน เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 29-30 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคใบจุดและโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศพม่าและลาวตอนบนในวันแรกของช่วงและปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออกและภาคใต้ในวันที่ 23 มิ.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลงจากช่วงที่ผ่านมา ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันแรกและในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยา ลำปาง และลำพูนในวันที่ 23 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 22 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายช่วง ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19,20 และ 24 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและฝนหนักมากบางพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19, 23 และ 24 มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง
ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา