พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เช่น หนอนกระทู้หอมในหอมแดง เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในช่วงทีมีฝนตกสม่ำเสมอ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เช่น หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชและดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าและโรคผลเน่าในทุเรียน เป็นต้น รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผักในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6-9 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เช่น หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด และด้วงงวง ในมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบนตลอดช่วงกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าว ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีฝน โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกของช่วง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 26 มิ.ย. บริเวณจังหวัดพะเยาและลำปางในวันที่ 27 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 27 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดขอนแก่นในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและฝนหนักมากในบางพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 29 และ 30 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 30 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 27 และ 30 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 35-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลาในวันที่ 29 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดพัทลุงในวันที่ 1 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 27, 30 มิ.ย. และ 2 ก.ค. มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง
ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำปาง หนองคาย อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แพร่ น่าน กำแพงเพชร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง กระบี่ และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา