พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Wednesday July 15, 2020 15:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 85/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-17 และ 20 - 21 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.ค. และ 20 - 21 ก.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-17 และ 20 - 21 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงฤดูฝนศัตรูสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์มารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกความชื้นในดินและในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-17 และ 20 - 21 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงฤดูฝน วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้เร็ว เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหาร จากพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ในวัชพืช เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูกป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15-17 และ 20 - 21 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับในช่วงฤดูฝนแมลงต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรติดตั้งดวงไฟล่อแมลงเหนือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้แมลงตัวเต็มวัยมาเล่นแสงไฟตอนกลางคืนแล้วตกลงไปในบ่อเลี้ยง เป็นอาหารเสริมของสัตว์น้ำได้ เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้นรวมทั้งจัดหาวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืช โดยจะนำมาซึ่งโรคที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรกองสุมเปลือกและผลที่เน่าเสียไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นในดินและในอากาศสูง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้ทางฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกพืชป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 8 - 14 กรกฎาคม 2563

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ เลย บุรีรัมย์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ยะลา ระนอง กระบี่ ตรัง และ สตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ