พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม พ.ศ.2563
ออกประกาศวันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 91/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค.มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ากำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตกผ่านบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าฟ้าคะนองจะคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. ทั่วทุกภาคมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
เหนือ ในช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคเน่าในผัก โรครากเน่าโคนเน่าในไมผล เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะโรคลำต้นเน่าหรือโคนเน่าขาวในถั่วลิสง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค และกระบือ เป็นต้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. จะมีเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไรไมผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนกระทู้ลายจุดในข้าวโพด
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ช่วงวันที่ 1-4 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคราสีชมพูในยางพารา โรคใบจุดในกาแฟ เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะคลื่นลมแรง โดยคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2563 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุราษฎร์ธานี ยะลา และตรัง สำหรับจังหวัดที่มีรายงานฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตาดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา