พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 101/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย โดยร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในพืชสวน พืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคเหง้าเน่าในขิง เป็นต้น รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำแผงกันฝนสาดและซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราในพืชสวน พืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคยอดเน่า-รากเน่าในสับปะรด เป็นต้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชและดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน พืชไร่ และพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ควรเก็บกวาดเศษซากพืชที่ร่วงหล่นเน่าเสีย ไม่ให้กองสุมอยู่ภายในสวนและนำไปกำจัด เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน พืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคเน่าเปียกในพริก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและอ่าวไทยในวันแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค อนึ่ง พายุโซนร้อน "ฮีโกส (HIGOS, 2007)" ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนตอนใต้ เมื่อเวลา 07.00 น. ในวันที่ 19 ส.ค. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อเวลา 01.00 น. ในวันที่ 20 ส.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงและสลายตัวในเวลาต่อมา
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 16 ส.ค. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนัก บางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 14 ส.ค. และบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 16 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 14, 17 และ 18 ส.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14, 15 และ 20 ส.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 19 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 19 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 18 ส.ค. มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และสุราษฎร์ธานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา