พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 2 - 8 กันยายน พ.ศ.2563
ออกประกาศวันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 106/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือนในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางและภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. 63 อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวน เพื่อป้องกันต้นและรากเน่า นอกจากนี้เกษตรกรควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งหากต้องเดินลุยน้ำ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทานควรเริ่มกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะไดมีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ แม้ว่าฝนที่ตกในช่วงนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไรไมผล และพืชผัก นอกจากนี้เกษตรกรควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งหากต้องเดินลุยน้ำ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงนี้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- มีฝนตกต่อเนืองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่าในไม้ผล
ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 1 กันยายน 2563 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน เลย นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร หนองคาย นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครปฐม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา