พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 11 - 17 กันยายน พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 110/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนน้อยลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และงดเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงที่มีฝนกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรคใบไหม้ โรคผลเน่า หรือโรคราน้ำฝนในลำไย ส่วนในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงที่มีฝนตกหนักบางแห่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เช่น โค กระบือ และสุกร นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบูทยางกันน้ำ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงที่มีฝนตกสลับกับมีแดดแรงในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในมะละกอ นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชและดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรคใบไหม้และโรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน นอกจากนี้ควรเก็บกวาดเศษซากพืชที่ ร่วงหล่น ไม่ให้กองสุมอยู่ภายในสวนและนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรคราสีชมพูและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา ส่วนในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะดอกในมะลิ
ระหว่างวันที่ 4 - 10 กันยายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันแรกของช่วงจากนั้นเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีกำลังปานกลางในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. จากนั้นพัดปกคลุมภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8 ก.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7 ก.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ในวันที่ 5 ก.ย. บริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 7 ก.ย. และบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงรายในวันที่ 8 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 9 ก.ย. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 8 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7 ก.ย. โดยมีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 5 และ 7 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 5 ก.ย. และบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 6 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 6 - 7 ก.ย. มีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดสระแก้วในวันที่ 7 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4 และ 8 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 8 ก.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 10 ก.ย. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 8 ก.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพังงา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา