พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 กันยายน พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Monday September 21, 2020 14:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 กันยายน พ.ศ.2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 114/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 63 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. 63 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย.63 เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และภาคใต้ ให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง หากน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟู เพื่อป้องกันต้นและรากเน่า และยังเป็นการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง หากน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟู เพื่อป้องกันน้าขังในแปลงปลูกพืช ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรระวังและป้องกันความเสียหายจากน้ำที่ไหลหลากลงมา

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออก และอย่าให้น้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากและต้นพืชเน่าตายได้ รวมทั้งยังเป็นการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเพิ่มออกชิเจนให้แก่น้า

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 ม. บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 ม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร พืชสวน ไมผล และพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่าในไมผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน 2563 พายุโซนร้อน "โนอึล (NOUL (2011))" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันที่ 18 ก.ย. จากนั้นได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดมุกดาหาร เมื่อเวลา 14.00 น. และได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณจังหวัดขอนแก่นเมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 19 ก.ย. จากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณจังหวัดพิษณุโลกในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในระยะต้นสัปดาห์ โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์ได้เลื่อนกลับขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีฝนตกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 18 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 18 ก.ย. บริเวณจังหวัดตากในวันที่ 19 ก.ย. บริเวณจังหวัดลำพูนและลำปางในวันที่ 20 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักและหนักมากบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 18 ก.ย. มีรายงานฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมาในวันที่ 18 ก.ย. บริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 20 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 18 และ 19 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดลพบุรีในวันที่ 18 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักหลายแห่งและหนักมากบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 15 ก.ย. บริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราดในวันที่ 18 ก.ย. บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 19 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15 และ 20 ก.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 18 และ 19 ก.ย. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 18 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดระนองและพังงาในวันที่ 18 ก.ย.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร นราธิวาส ระนอง และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี พังงา กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ