พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday October 5, 2020 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 ? 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 120/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 5 ? 7 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง สำหรับในช่วงวันที่ 7 ? 11 ต.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 7 ? 11 ต.ค. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 7 ? 11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เป็นต้น ฤดูต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองรวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้ให้พร้อม สำหรับในช่วงฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 7 ? 11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้บางพื้นที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และข้าวนาปี เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ เนื่องจากฤดูต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อมรวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้ให้พร้อมใช้งาน สำหรับในช่วงฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 ? 9 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืช ขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือน ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยหมั่นสังเกตหากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6 ? 9 ต.ค. มีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5 - 6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 7 - 11 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงที่มีฝนตก ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูกป้องกันโรคดังกล่าว นอกจากนี้พื้นที่เพาะปลูกที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 7 ? 9 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่งทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 5 - 6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 ต.ค. ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา:

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 7 ? 9 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 5 - 6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 4 ตุลาคม 2563 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยในระยะปลายสัปดาห์ร่องมรสุมดังกล่าวได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในระยะกลางสัปดาห์มีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 29 ก.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 30 ก.ย. และบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 5 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 30 ก.ย. และ 3 ต.ค. บริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 3 ต.ค. ภาค

กลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ย., 1 และ 4 ต.ค. มีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสปั ดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่า ร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวนั ที่ 30 ก.ย., 1 และ 4 ต.ค. มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดชลบุรีและสระแก้วในวันที่ 3 ต.ค. บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 4 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 28 ก.ย. และ 2 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 29, 30 ก.ย. และ 4 ต.ค. มีฝนร้อยละ 35-60ของพื้นที่

สัปดาหที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช และระนอง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ