พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม พ.ศ.2563
ออกประกาศวันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 124/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15-20 ต.ค. ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 17-20 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในภาคเหนือ
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-17 ต.ค. พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ตอนล่าง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง และมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 3 (โซนร้อน) ในระยะต่อไป หลังจากนั้นจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค.
คำเตือนในช่วงวันที่ 16-17 ต.ค. 63 เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามภาคต่างๆ ให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. มีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวอากาศจะเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้าให้ใช้งานได้ตามปกติ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องไดทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสม ปองกันหรือลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ต.ค. มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มและถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออก อย่าให้น้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไมควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ โดยเฉพาะชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยาง และโรคราเส้นดำ เป็นต้น
อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง
ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2563 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ราชบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และกระบี่
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา